3.2.3.
วงจรรับสัญญาณอนาล็อกและเปรียบเทียบค่า
(Microcontroller)
วงจรในส่วนนี้เราได้นำไมโครคอนโทรลเลอร์
รุ่น ET-BASE51-AC3 ดังรูปที่
3.10 มาใช้งาน
รูปที่ 3.10
แสดงบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นำมาใช้งาน
โดยจะรับสัญญาณอินพุทเป็นสัญญาณอนาล็อก
จากวงจรปรับค่าความชัน แล้วนำมาแปลงสัญญาณให้เป็นสัญญาณดิจิตอล โดยวงจร A to D ที่อยู่ภายในของวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์
รูปที่ 3.11
บล็อกแสดงลักษณะการทำงานของไมโครฯ
โดยในการแปลงสัญญาณและเปรียบเทียบค่าของไมโครคอนโทรลเลอร์
เราจะต้องเขียนโปรแกรม เพื่อควบคุมการทำงานของ ไมโครคอนโทรลเลอร์ เช่น
/* Compiler : Keil C51
(V7.50) */
/*******************************************/
// Demo UART + Timer1 Baudrate
+ ADC0(10BIT)
จากนั้นไมโครคอนโทรลเลอร์ จะนำค่าของสัญญาณดิจิตอลที่ได้ มาทำการเปรียบเทียบค่า ตามโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อใช้แสดงผล
ทาง LCD และ LED ต่อไป
ซึ่งขั้นตอนการทำงานดัง โฟลว์ชาร์ต ตามรูปที่ 3.12
รูปที่ 3.12
แสดงโฟลว์ชาร์ตการกำหนดการทำงานของไมโครคอนโทรลเลอร์
3.2.4
ส่วนของการแสดงผล
วงจรในส่วนนี้จะใช้การแสดงผลโดย LCD และ LED
1. การแสดงผลโดย LCD ได้นำ LCD
รุ่น 20416H (20
ตัวอักษร 4 บรรทัด) มาใช้ มีการแสดง ผลดังนี้
-บรรทัดที่ 1 เมื่อปกติ แสดง IA
= กระแสขณะใช้งาน เมื่อผิดปกติ
แสดง IA = เกินพิกัดกี่
%
-บรรทัดที่ 2 เมื่อปกติ แสดง IB
= กระแสขณะใช้งาน เมื่อผิดปกติ
แสดง IB = เกินพิกัดกี่
%
-บรรทัดที่ 3 เมื่อปกติ แสดง IC
= กระแสขณะใช้งาน เมื่อผิดปกติ
แสดง IC = เกินพิกัดกี่
%
-บรรทัดที่ 4 เมื่อปกติ แสดง บาลานซ์ กี่ % เมื่อผิดปกติ แสดง เฟสไหนไม่บาลาน์
และ กี่ %
รูปที่ 3.12
แสดงบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์พร้อม LCD
2. การแสดงผลโดย LED ในการแสดงผลของ LED จะใช้หลอด LED จำนวน 4
หลอด ติดไว้หน้าตู้
- หลอดที่ 1
(ใช้หลอดสีแดง ) เมื่อปกติ
หลอดจะไม่ติด เมื่อผิดปกติ หลอดจะติด
- หลอดที่ 2
(ใช้หลอดสีแดง ) เมื่อปกติ
หลอดจะไม่ติด เมื่อผิดปกติ หลอดจะติด
- หลอดที่ 3
(ใช้หลอดสีแดง ) เมื่อปกติ
หลอดจะไม่ติด เมื่อผิดปกติ หลอดจะติด
- หลอดที่ 4
(ใช้หลอดสีเหลือง ) เมื่อปกติ
หลอดจะไม่ติด เมื่อผิดปกติ หลอดจะติด
รูปที่ 3.13 แสดงการติดหลอด LED หน้าตู้และการติดตั้งอุปกรณ์ภายในตู้
3.3 )
การติดตั้งอุปกรณ์
การติดตั้งอุปกรณ์ที่หน้างาน
โดยจะติดตั้งไว้ที่ต้นหม้อแปลงดังรูปที่ 3.15
รูปที่ 3.14
แสดงการติดตั้งเครื่องตรวจสอบบาลานซ์โหลดหม้อแปลง
รูปที่ 3.15
แสดงวิธีการวัดกระแส
3.4 ) เครื่องจำลองกระแสที่ใช้ในการทดสอบ
เนื่องจากในการทดสอบชิ้นงานอาจมีปัญหาในเรื่องของการหาหม้อแปลงที่เกิดการไม่บาลานซ์
อาจต้องใช้เวลานานในการค้นหา เราจึงต้องจำลองแหล่งจ่ายกระแสก่อน
เพื่อใช้ในการทดสอบชิ้นงานให้สมบูรณ์แล้วจึงนำไปทดสอบกับหน้างานจริงอีกต่อไป
รูปที่ 3.16 แสดงวงจรจำลองแหล่งจ่ายกระแส