3. การออกแบบในแต่ละส่วน
ในหัวข้อการออกแบบนี้จะกล่าวถึงการออกแบบและรายละเอียดการทำงานในแต่ละส่วนของวงจร
3.1 วงจรสำหรับตรวจจับกระแส
วงจรในส่วนนี้จะทำหน้าที่หลัก ในการตรวจจับกระแสที่ไหลผ่านสายไฟฟ้าไปยังโหลด หรือ ผู้ใช้ไฟ โดยใช้หม้อแปลงกระแส ( Current transformers ) จำนวน 2 ลูก โดย CT1 (500/5A) ทำหน้าที่เป็นตัวแปลงกระแส จากที่มีค่าสูงให้มีค่าต่ำลง ส่วน CT2 (5/20A) จะใช้ในการแปลงกระแสที่มีค่าต่ำจาก 0-5A ให้มีค่าสูงขึ้นเป็น 0-20A เพื่อที่จะนำไปใช้กับตัววัดกระแส ฮอลล์เซนเซอร์ ให้ได้ค่าตามความต้องการของอุปกรณ์ตรวจวัดกระแส
รูปที่ 3.2 แสดงวงจรตรวจวัดกระแส
3.2 วงจรเปลี่ยนกระแสเป็นแรงดัน ( Current to Voltage Converters )
วงจรในส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณกระแส ที่ได้รับมาจาก หม้อแปลงกระแสให้เป็นแรงดัน โดยในส่วนนี้จะประกอบด้วยวงจรย่อย 2 ส่วน ได้แก่ วงจรแปลงกระแสเป็นแรงดัน และ วงจรปรับค่าความชัน
รูปที่ 3.3 แสดงวงจรเปลี่ยนกระแสเป็นแรงดันและวงจรปรับค่าความชัน
จากรูปที่ 3.3 จะแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน คือ
3.2.1 วงจรเปลี่ยนกระแสเป็นแรงดันโดยใช้ฮออลล์เซนเซอร์
โดยในวงจรนี้ได้นำเอาไอซีฮอลล์เซนเซอร์ ( ACS712-20AT ) มาใช้เป็นตัว เปลี่ยนกระแสเป็นแรงดัน ซึ่งมีการทำงานโดยวิธีการวัดความเข็มของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นรอบๆตัวนำขณะที่มีกระแสไหลผ่านโดยจะใช้ร่วมกับ แกนเฟอร์ไรต์
รูปที่ 3.4 แสดงวงจรเปลี่ยนกระแสเป็นแรงดัน
ซึ่งในการที่จะนำไปใช้กับงานอิเล็กทรอนิกส์ จึงจำเป็นต้องทำให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กลง เพื่อเป็นการประหยัดพื้นที่ จึงได้มีการรวมเอา ฮอลล์เซนเซอร์ กับ แกนเฟอร์ไรต์ และวงจรอิเล็กทรอนิกส์รวมเข้าด้วยกันเป็น ไอซีชิปเดียว ซึ่งมีลักษณะวงจรภายในดังรูปที่ 3.5
รูปที่ 3.5 แสดงวงจรภายใน ไอซี ฮอลล์เซนเซอร์
การทำงานของไอซีฮอลล์เซนเซอร์ เมื่อจ่ายไฟเลี้ยง +VCC ให้กับไอซี แรงดันเอาต์พุตปกติของไอซี จะอยู่ที่ประมาณครึ่งหนึ่งของแหล่งจ่าย ขณะทียังไม่มีกระแสไหลผ่านตัวไอซี เช่น ถ้าจ่ายไฟเลี้ยงที่ 5V ให้กับไอซี ขณะที่ยังไม่มีกระแสไหลผ่านตัวไอซี แรงดันเอาต์พุตปกติของไอซี จะได้เท่ากับ 2.5 V และเมื่อมีกระแสไหลผ่านตัวไอซี แรงดันเอาต์พุตของไอซี จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามปริมาณของกระแสที่ไหลผ่านตัวไอซี นั้นเองซึ่งดูได้จากรูปที่ 3.6
รูปที่ 3.6 แสดงกราฟคุณสมบัติของไอซีฮอลล์เซนเซอร์
3.2.2 วงจรปรับค่าความชัน( Slope ) และตำแหน่งศูนย์ ( Zero
)
วงจรในส่วนนี้
เป็นวงจรที่นำมาใช้ปรับแต่งสัญญาณ ระหว่างสัญญาณอินพุท กับ เอาต์พุท ให้มีความสัมพันธ์เป็นไปตามเงื่อนไขที่ต้องการ
โดยจะพิจารณาจาก กราฟความสัมพันธ์ระหว่าง Vout กับ Vin ซึ่งอยู่ในรูปของสมการเส้นตรง
รูปที่ 3.7 รูปกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Vout กับ Vin
ซึ่งวงจรที่นำมาใช้ปรับแต่งสัญญาณ จะประกอบด้วยวงจรรวมสัญญาณ (Summing
amplifier ) A1 และวงจรขยายกลับเฟส (Inverting amplifier )
A2 ซึ่งมีอัตราขยายเท่ากับ
-1
รูปที่ 3.8
แสดงการออกแบบวงจรปรับความชันและตำแหน่งศูนย์
ดังนั้น จากรูปวงจรที่
3.8 แรงดันของ A1 จะได้เท่ากับ
จากนั้นสัญญาณเอาต์พุท ที่ได้จาก
A1 จะถูกป้อนให้เป็นสัญญาณอินพุท ให้กับ
A2 ซึ่งต่อเป็นวงจรขยายที่มีอัตราขยายเท่ากับ -1
ทำให้แรงดันเอาต์พุทของ A2 ได้เท่ากับ
จากคุณสมบัติของกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง Vout กับ Vin ของวงจรนั้นอยู่ในรูปของสมการเส้นตรงเราสามารถพิจารณาได้จากสมการ
y = mx+b
ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบสมการ ที่ (3.1) กับ (3.2) จะได้
จากสมการข้างต้นเราสามารถออกแบบวงจรปรับความชันได้ดังนี้
จากคุณสมบัติของไอซีฮอลล์เซนเซอร์
ตามรูปที่ 3.6 แรงดันเอาต์พุทเริ่มต้นของไอซี อยู่ที่ 2.5 V และ
แรงดันเอาต์พุทสูงสุดอยู่ที่ 4.5 V ในการออกแบบวงจรเราต้องการแรงดันเอาต์พุท
ที่ 0-3 V เพื่อนำไปจ่ายให้แก่วงจร A to D ของไมโครฯ ดังนั้นเราสามารถคำนวณหาค่าตัวต้านทานต่างๆของวงจรได้จาก
จากการคำนวณหาตัวต้านทานข้างต้นจะได้
= -5V , Rf = 150
kΩ , Ri = 100 kΩ , Ros = 167 kΩ ,
Rcomp = 44.15 kΩ และในวงจรกลับเฟสของ A2 เรากำหนดให้ R มีขนาดเท่ากันคือ
10 kΩ ส่วน R/2 เราสามารถหาได้โดยนำ
R 10 kΩ /2 จะได้ R/2
= 5 kΩ เมื่อทำการคำนวณเสร็จแล้วจะได้ดังรูปที่
3.9
รูปที่ 3.9
แสดงวงจรที่คำนวณหาค่าต่างๆเรียบร้อยแล้ว
อ่านเพิ่ม >>